เมนู

3. อังคสูตร


[53] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อ
พระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์. . . เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
ดังนี้ 1
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบ
ด้วยไฟธาตุที่เผาอาหารให้ย่อยสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง
ควรแก่การบำเพ็ญเพียร 1
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นผู้เปิดเผย
ตนตามเป็นจริง ในพระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน 1
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยัง
กุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระ
ในกุศลธรรม 1
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา ที่ให้หยั่ง
ถึงความเกิดขึ้นและดับไป อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการนี้แล.
จบอังคสูตรที่ 3

อรรถกถาอังคสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอังคสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า ปธานิยงฺคานิ ภาวะคือการตั้งความเพียร ท่านเรียกว่า
ปธานะ. ความเพียรของภิกษุนั้นมีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าผู้มีความเพียร
องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร เพราะเหตุนั้นชื่อว่า ปธานิยังคะ.
บทว่า สทฺโธ แปลว่า ผู้ประกอบด้วยศรัทธา. ก็ศรัทธานั้นมี 4 อย่าง
คือ อาคมศรัทธา 1 อธิคมศรัทธา 1 โอกัปปนศรัทธา 1 ปสาท-
ศรัทธา 1.
บรรดาศรัทธาทั้ง 4 นั้น ศรัทธาของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ ชื่อว่า
อาคมศรัทธา เพราะเริ่มมีมาตั้งแต่การบำเพ็ญบารมี ที่ชื่อว่า อธิคมศรัทธา
เพราะบรรลุด้วยการแทงตลอดของพระอริยสาวกทั้งหลาย. ความเชื่ออย่าง
มั่นคง เพราะไม่หวั่นไหว เมื่อกล่าวว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ดังนี้ ชื่อว่า
โอกัปปนศรัทธา การเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส ชื่อว่า ปสาทศรัทธา. ใน
พระสูตรนี้ท่านประสงค์เอาโอกัปปนศรัทธา. บทว่า โพธึ ได้แก่ มรรคญาณ 4.
ภิกษุย่อมเชื่อว่า มรรคญาณ 4 นั้นอันพระตถาคตแทงตลอดด้วยดีแล้ว. ก็คำ
นั้นเป็นเพียงหัวข้อเทศนาเท่านั้น. ก็ศรัทธาในรัตนะแม้ทั้ง 3 ท่านประสงค์
เอาด้วยองค์นี้ เพราะภิกษุใดมีความเลื่อมใส มีกำลังแรงในพระพุทธเจ้า
เป็นต้น ความเพียรคือปธานะย่อมสำเร็จแก่ภิกษุนั้น.
บทว่า อปฺปาพาโธ คือ ไม่มีโรค. บทว่า อปฺปาตงฺโก คือ
ไม่มีทุกข์. บทว่า สมเวปากินิยา แปลว่า มีการย่อมสม่ำเสมอ. บทว่า
คหณิยา แปลว่า อันไฟธาตุเกิดแต่กรรม. บทว่า นาติสีตาย นาจฺจุณฺหาย
ความว่า จริงอยู่ ภิกษุผู้มิไฟธาตุเย็นเกินไป ย่อมกลัวหนาว ผู้มีไฟธาตุร้อน